เมนู

คือสัตว์ทั้งหลายตายจากภพนั้นแล้วมาเกิดสนภพนี้ ตายจากภพนี้ไปเกิดในภพอื่น ขอถวายพระ
พร อย่างนี้แหละเรียกว่าสงสาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อาราธนานิมต์พระผู้เป็น
เจ้ากระทำอุปมาไปให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สงสารนี้
เปรียบปานดุจบุรุษผู้หนึ่งบริโภคซึ่งมะม่วงแล้ว จึงเอาเมล็ดในมะม่วงปลูกลง เมล็ดในมะม่วง
นั้นก็งอกออกไปเป็นต้นเป็นลำจำเริญขึ้น ๆ ก็ออกใบช่อต่อผล ฝูงคนทั้งหลายได้กินเข้าไป
จึงเอาเมล็ดผลมะม่วงเพาะฝังปลูกต่อลงไว้อีก ผลมะม่วงนั้นก็แตกออกไปน้อยใหญ่เป็นต้น เป็น
ลำจำเริญกิ่งก้านสาขา ครั้นถึงหน้าฤดูก็ออกช่อชูสลอนทุกพวกผลดกเป็นก้อน บ้างก็ดิบห่าม
เหลืองเนืองนองอยู่กับต้น ฝูงคนได้กินเข้าไปก็เอาเมล็ดในฝังเพาะปลูกลงไว้ กระทำต่อไปดังนี้
จะได้รู้จักที่ว่าต้นมะม่วงเดิมนั้นอยู่แห่งหนตำบลใดประเทศถิ่นฐานแห่งไรนั้นหามิได้ ยถา มีครุ
วนาฉันใด สัตว์โลกเกิดมาในภพอันนี้ตายจากภพนี้ไปเกิดภพโน้น มาเกิดภพนั้น แต่เฝ้า
เวียนวนอยู่ดังนี้ก็มิได้รู้ที่สุดว่าแรกเกิดมาเดิมเกิดที่ไหนที่ภพอันใด ก็มิอาจสามารถที่จะกำหนด
ได้เหมือนอัมพผลต้นมะม่วงเดิมนั้นอย่างนี้แหละเรียกว่สงสารจงทราบพระญาณด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระทัยโสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้า
กล่าวนี้สมควร
สังสารปัญหา คำรบ 9 จบเท่านี้

จิรกตสรณปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ บุคคลที่ระลึกล่วงไปข้างหน้าในอดีตกาลอันนานช้านี้ ระลึกได้
ด้วยอะไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร บุคคลที่จะระลึกซึ่ง
อดีตกาลล่วงไปช้านานนั้นก็ระลึกได้ด้วยสติ ของถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า โยมนี้เข้าใจว่าระลึกได้ด้วยจิต
พระนาคเสนซักว่า มหาบพิตรเข้าพระทัยว่าระลึกได้ด้วยจิตนั้น เข้าพระทัยถูกแล้วหรือ
นี่แน่ะอาตมาจะถาม เหมือนพระราชสมภารกระทำการอะไรไว้แล้วลืมเสีย พระองค์ทรงทราบ
ได้หรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสรับว่า หามิได้
พระนาคเสนจึงว่า สมัยนั้นพระราชสมภารเจ้านี้ไม่มีจิตหรือ อันธรรมดาว่า จะระลึก
ถึงสิ่งของข้างหนหลังล่วงลับไปนาน จะระลึกได้ก็อาศัยสติ อนึ่งกระทำการสิ่งไรเป็นการกุศลก็ดี
อกุศลก็ดี อาศัยแก่สติระลึกไป นัยหนึ่งสติมีอรรถว่าระลึกเลือกเอาแต่ชอบ นัยหนึ่งสติมีอรรถว่า
ระลึกไว้ไม่ให้ลืม จึงชื่อว่าสติ อันลักษณะจิตนี้เป็นพนักงานข้างจะคิดไป สตินี้เป็นพนักงานที่จะ
ระลึกมิให้หลงลืมได้ เหตุฉะนี้แหละจะระลึกได้ซึ่งการที่ล่วงไปคือกาลหลัง ๆ มานี้จะระลึกได้อาศัย
แก่สติ เสมือนคนบ้าหาสติมิได้ มีแต่จิตไม่รู้ผิดชอบคลุ้มไปคลั่งมา เพราะว่าหาสติมิได้ ที่จะ
ระลึกรู้สึกตัวได้บ้างเพราะว่ามีสติ บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยเถิด พระนาคเสนผู้ประเสริฐ
ก็ยังสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ ให้โสมนัสยินดีด้วยพระอภิธรรมกถาด้วยประการฉะนี้
จิรกตสรณปัญหา คำรบ 10 จบเท่านี้

สติอภิชานันติปัญหา ที่ 11


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามพระนาคเสน
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สติที่ระลึกถึงข้าวของสารพัดทั้งปวงนี้ จะมีแก่พวกพระ
ผู้เป็นเจ้าผู้เป็นอภิชานะรู้ยิ่งพวกเดียวนี้หรือ หรือว่าจะมีแก่พวกกุฏุมพีคือผู้ที่ต้องตักเตือนบ้าง
เป็นประการใด
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร สตินี้มีแก่คนที่รู้ยิ่ง และคนที่
เป็นกุฎุมพีก็มีสติด้วยกันสิ้น
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า โยมนี้เห็นว่าคนที่รู้ยิ่งมีสติ เห็นว่ากุฎุมพีนั้นไม่มีสติ